จาดาฟ พาเยง ปลูกป่าบนผืนดินในมุมโลกของเขา ที่รัฐอัสสัม ประเทศอินเดีย ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีต้นไม้ ลุ่มแม่น้ำพรหมบุตรเกิดน้ำท่วมทุกปี และสร้างความเสียหายมหาศาลต่อพืชผล บ้านเรือน และชีวิตความเป็นอยู่ จาดาฟจึงตัดสินใจพลิกฟื้นเกาะที่แห้งแล้ง ด้วยการปลูกต้นไม้ ตอนนี้พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าที่สมบูรณ์แผ่ขยายบนเนื้อที่กว่า 1,360 เอเคอร์ ซึ่งกว้างใหญ่กว่าสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์คในเมืองนิวยอร์ก ต้นไม้เหล่านี้สร้างประโยชน์ใหญ่หลวงแก่ภูมิภาคดังกล่าว เริ่มมีการทำไร่ทำนากันอีกครั้ง ไม่เกิดน้ำท่วมอีก มีสัตว์ป่า เช่น แรด ช้าง และเสือ มาอาศัยอยู่ในป่าที่เขาปลูก เขามีวิสัยทัศน์สำหรับอนาคต เขาต้องการให้วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรของโรงเรียนทุกแห่ง โดยให้นักเรียนแต่ละคนปลูกต้นไม้ และดูแลเอาใจใส่ต้นไม้หนึ่งต้น นี่ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเขา ตลอดหลายปีเขาต้องคอยไล่นักลอบล่าสัตว์ผู้โลภมาก นักการเมืองทุจริต และคนลักลอบตัดไม้ แต่เขากล่าวว่า “ผมไม่รู้หรอกว่าผมได้อะไรจากการทำเช่นนี้ แต่ผมมีความสุข เมื่อปลูกต้นไม้ ผมจะทำต่อไปจวบจนวันตาย” อีกคนหนึ่งผู้เปลี่ยนโลก คือ วังการี มาไท ชาวเคนยา ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และผลงานการพัฒนาชุมชน สมัยที่วังการีเป็นวัยรุ่น เธอเข้าเรียนที่โรงเรียนมิชชั่น เธอเป็นสมาชิกผู้แข็งขันของสมาคม Legion of Mary ซึ่งทำโครงการเกษตรท้องถิ่น เธอมีคติประจำใจว่า “รับใช้พระเจ้าด้วยการรับใช้เพื่อนมนุษย์” เมื่ออายุยี่สิบต้นๆ เธอได้รับทุนการศึกษาให้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กในสหรัฐฯ เธอได้พบนักรณรงค์ผู้พยายามกำจัดมลพิษทางอากาศในเมือง และเล็งเห็นว่าความเพียรพยายามของเขาส่งผลกระทบที่มีความสำคัญ เธอเติบโตในพิตต์สเบิร์กตอนนั้น และเป็นสักขีพยานได้ถึงการเปลี่ยนแปลงเด่นชัดในคุณภาพของอากาศที่นั่น เมื่อเดินทางกลับเคนยา วังการีพยายามอย่างหนักเพื่อปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของสตรี เธอเริ่มขบวนการแนวร่วมสีเขียว เพื่อช่วยให้สตรีพึ่งพาตนเองได้ โดยการเพาะต้นอ่อนจากเมล็ดของต้นไม้พื้นเมือง ความงดงามในโครงการของเธอคือความเรียบง่าย ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือของเธอ Unbowed “ดังที่ฉันบอกกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ และพวกสตรีว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีปริญญาเพื่อปลูกต้นไม้” ขบวนการแนวร่วมสีเขียวของเธอก้าวหน้า ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศกับองค์กรต่างๆ อาทิเช่น ชมรมป่าไม้นอร์เวย์ ตลอดหลายปี ตัวแทนจากกว่า 15 ประเทศ ได้มาศึกษาดูงาน ว่าจะนำไปสร้างโครงการคล้ายคลึงกันให้เกิดผลได้อย่างไรในประเทศของเขาเอง เพื่อต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย การตัดไม้ทำลายป่า ภาวะฝนแล้ง และขาดแคลนอาหาร ปัจจุบันมีต้นไม้ใหญ่หลายล้านต้นจากความเพียรพยายามดังกล่าว และผลงานริเริ่มอื่นๆ อีกมากมายที่เกิดจากโครงการนี้ เช่น การรณรงค์ปลูกต้นไม้พันล้านต้นของยูเอ็น ทว่าการฟื้นฟูมีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับคุณและผมน่ะหรือ แน่นอนว่าพวกเราส่วนใหญ่แทบจะไม่ค่อยได้ปลูกต้นไม้กัน ทว่ามีอะไรที่ต้องทำมากกว่านั้นอีก นี่เกี่ยวกับการทำส่วนของเราเพื่อให้โลกน่าอยู่ยิ่งขึ้น ก้าวแรกได้แก่ค้นหาว่า “ต้นไม้” ของเราคืออะไร จากนั้นก็ทะนุถนอมให้เติบโต พระเยซูคงจะกล่าวในทำนองที่ว่า “อาณาจักรสวรรค์เป็นเหมือนผู้ที่ออกไปปลูกต้นไม้ ในผืนดินแห้งแล้งรกร้างว่างเปล่า ด้วยการดูแลเอาใจใส่ จนกลายเป็นป่าใหญ่ ทำให้ผืนดินอุดมสมบูรณ์ และก่อเกิดผลมากมาย” Text adapted from Activated magazine. Used by permission.
Image 1 courtesy of Times Now via Twitter. Used under Fair Use guidelines Image 2 courtesy of Thoughtco.com. Used under Fair Use guidelines Image 3 designed by Freepik |
Categories
All
Archives
October 2024
|